วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555


บทที่ 1
บทนำ

แนวคิดที่มาและความสำคัญ
การทำขนมกาละแมในสมัยก่อนกวนกินกันเวลามีเทศกาลทำบุญพิธีต่าง ๆ ในหมู่บ้าน เช่น แต่งงาน บวชนาคทอดกฐินขึ้นบ้านใหม่ ทำกันในหมู่ญาติ  โดยใช้น้ำตาลเหลวเรียกว่าน้ำตาลโตนด ใส่กะทิ ใส่แป้ง เมื่อก่อนใช้โม่กับมือที่เรียกว่า ครกบดเคี่ยวน้ำตาล ประมาณ2 – 3 ชั่วโมงจนเป็นยวงเหนียวข้นได้ที่ เมื่อก่อนกาละแมจะตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมบรรจุถุงขายต่อมาได้มีการปรับปรุงใช้น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลปี๊บทำเป็นกาละแมสีขาว และเปลี่ยนรูปแบบจากการตัดเป็นชิ้นๆ มาห่อพลาสติกเป็นรูปทรง พีรามิดและได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก ยาหนมมาเป็น กาละแมเพื่อให้ฟังดูไพเราะขึ้น

วัตถุประสงค์
    1.เพื่อศึกษาแหล่งที่มาของขนมกาละแม
    2.เพื่อหาความเป็นเอกลักษณ์ ของขนมกาละแม
    3.เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่บรรพบุรุได้ทำต่อๆกันมารุ่นต่อรุ่น
    4.เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้คนทั่วไปได้รู้จักขนมพื้นบ้านมากขึ้น
หลักการและทฤษฎี
 การทำขนมกาละแมในสมัยก่อนกวนกินกันเวลามีเทศกาลทำบุญพิธีต่างๆ ในหมู่บ้าน เช่น แต่งงาน บวชนาคทอดกฐินขึ้นบ้านใหม่ ทำกันในหมู่ญาติ  ปัจจุบันขนมกาแม ได้กลายเป็นอาชีพของชาวบ้านและทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น พวกเราจึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องนี้
ขอบเขตของโครงงาน
     1.สำรวจแหล่งผลิตขนมกาละแม
     2.ศึกษาเอกลักษณ์ของขนมกาละแม
     3.มุ่งส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป
                              ได้รู้จักขนมกาละแม
       4.ระยะเวลาในการดำเนินงานระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
       5.อนุรักษ์สูตรขนมกาละแมรสดั้งเดิม

บทที่ 2

การศึกษาเอกสารอ้างอิง
การทำขนมกาละแมในสมัยก่อนกวนกินกันเวลามีเทศกาลทำบุญพิธีต่าง ๆ ในหมู่บ้าน เช่น แต่งงาน บวชนาคทอดกฐินขึ้นบ้านใหม่ ทำกันในหมู่ญาติ ในสมัยรุ่นคุณทวดหนูเอียด สังข์ ศิริ ราว พ.ศ. 2470 – 2480 เรียกว่า ยาหนม หรือ กะยาหนมโดยใช้น้ำตาลเหลว เรียกว่าน้ำตาลโตนดใส่กะทิ ใส่แป้ง เมื่อก่อนใช้โม่กับมือที่เรียกว่า ครกบดเคี่ยวน้ำตาล ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง จนเป็นยวงเหนียวข้นได้ที่
ต่อมาในรุ่นของคุณยายไพ สังข์สุมาตร ได้ทำขนมยาหนม ไปขายที่จังหวัดตรัง จนกระทั่งลูกสาวคนที่ 2 ของยายไพ คือนางแคล้ว ชุมพูน ออกเรือนไปเมืองตรัง ก็ให้ลูกสาวคือนางคลาย ชุมพูน ดำเนินการเป็นกาละแมสองเมือง ของแม่แคล้วเมืองตรังกับกาละแมแม่คลายเมืองพัทลุง กิจการเติมโตขึ้นเรื่อย ๆ และมีผู้นิยมบริโภคมากขึ้นจึงได้มีการขยายกิจการให้กับลูกของยายไพ คือ กาละแมแม่คลาย แม่คลี่ แม่แปลก
เมื่อก่อนกาละแมจะตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมบรรจุถุงขายต่อมาได้มีการปรับปรุง ใช้น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลปี๊บทำเป็นกาละแมสีขาว และเปลี่ยนรูปแบบจากการตัดเป็นชิ้นๆ มาห่อพลาสติกเป็นรูปทรง พีรามิดและได้มีการเปลี่ยนชื่อจากยาหนมมาเป็น กาละแมเพื่อให้ฟังดูไพเราะขึ้น เดิม กาละแมนิยมทำกันอยู่ 3 รส คือรสธรรมดา (รสดั้งเดิม)รสกะทิ และรสใบเตย
ในราวปี พ.ศ. 2510 กาละแม ได้เป็นอาชีพของชาวนางลาดและทำให้ชาวนางลาดมีชีพและรายได้จากการรับจ้างกวน กาละแม และการห่อกาละแมมาจนถึงปัจจุบันบางรายได้เปิดกิจการของตนเองทำให้กาละแมของ นางลาดมีผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น เมื่อแม่คลายเสียชีวิต นางประคอง เดชปรารมภ์ ลูกสาวได้ดูแลกิจการแทน และได้เปลี่ยนชื่อจาก กาละแมแม่คลายเป็น กาละแมแม่ประคองเนื่องจากเห็นว่าชื่อซ้ำกับผู้ประกอบการรายอื่นเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของ ลูกค้า และได้พัฒนาสูตรกาละแมเพิ่มขึ้นมาใหม่ จนกระทั่งปัจจุบันมีการทำรสต่างๆ ถึง 7 รส คือ รสธรรมดา (รสดั้งเดิม) รสกะทิสด และรสใบเตย รสขนุน รสกาแฟ รสทุเรียนรสอัญชัญ
กะละแม เป็นขนมไทยลักษณะเป็นแป้งเหนียวสีดำ เป็นขนมหนึ่งในสามชนิดที่นิยมทำขึ้นในวันปีใหม่ของคนไทยในสมัยก่อน ซึ่งจะต้องทำให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์ คือ ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง และกะละแม [1] ยังไม่ทราบว่ากะละแมมีที่มาจากขนมหวานของชาติใด บางท่านกล่าวว่ามาจากขนมกาลาเม็กของฝรั่งเศส หรือคาราเมลของอังกฤษ หรือเกละไมของชาวมลายู พุทธทาสภิกขุตั้งข้อเสนอว่าน่าจะมาจากขนมฮูละวะของอินเดียที่มีส่วนผสมเป็นนม แป้ง และน้ำตาล[2]
กะละแมมี 2 ชนิด แบ่งตามวิธีการกวนคือ [2]
กะละแมเม็ด (ดั้งเดิม) กะละแมแบบนี้สีเข้ม ขนมอาจจะมีลักษณะเป็นจุดๆแทรกอยู่
กะละแมแป้ง แต่ใส่แป้งข้าวเหนียวแทนเม็ดข้าวเหนียว กะละแมที่กวนขายในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นกะละแมแป้งเพราะทำง่ายกว่า
ขนมโดดอล
ทางภาคใต้จะมีขนมที่มีลักษณะคล้ายกะละแมเรียกขนมโดดอล ขนมดอดอยหรือยาหนม (จ.สงขลา) ซึ่งใช้ในพิธีการต่างๆ เช่น กินสมางัต แบ่งเป็น 2 ชนิดคือโดดอลข้าวเจ้ากับโดดอลข้าวเหนียว โดดอลข้าวเหนียว ประกอบด้วยแป้งข้าวเหนียว น้ำกะทิ น้ำตาลทรายกวนในกระทะจนร้อน เหนียว แป้งเป็นสีน้ำตาล ขึ้นเงา โดดอลข้าวเจ้า ใช้แป้งข้าวเจ้า กะทิและน้ำตาลโตนด โดยมีวิธีปรุงเช่นเดียวกัน

ขันตอนการทำขนมกาละแม
              1. ตำกาบมะพร้าวที่เผาไว้ให้แหลกใส่น้ำลงไป 1 ถ้วยตวงคนให้น้ำสีดำออกแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง จะได้น้ำสีดำทำจากกาบมะพร้าว
              2. ผสมแป้งข้าวเหนียว แป้งถั่วเขียว เข้าด้วยกันในกระทะทอง ใส่น้ำสีดำ นวดแป้งให้เนียนผสมน้ำตาลทรายหัวกะทิคนให้เข้ากัน
              3. ยกส่วนทั้งหมดตั้งไฟอ่อนๆ กวนแป้งให้เหนียวและล่อนออกจากกระทะจึงยกลง
              4. เตรียมถาดสำหรับใส่ขนมทาน้ำมันพืชให้ทั่วเทขนมที่กวนไว้ลงในถาดเกลี่ยให้ เรียงเสมอกัน แล้วพักไว้ให้เย็นจึงตัดเป็นชั้นสี่เหลี่ยม ตามต้องการ

บทที่ 3

วิธีการดำเนินโครงงาน
ขั้นตอนและการดำเนินงาน
ตารางปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน  3 - 14 สิงหาคม  2555

วัน/เดือน/ปี
กิจกรรมที่ปฏิบัติ
สถานที่ทำกิจกรรม
ผู้รับผิดชอบ

3-4 สิงหาคม 2555

เลือกหัวข้อโครงงาน
วางแผนการดำเนินงาน

ห้องเรียน
ห้องสมุด วนศ.นศ

สมาชิกในกลุ่ม

5-7 สิงหาคม 2555

ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ

ห้องเรียน
ห้องสมุด วนศ.นศ

  สมาชิกในกลุ่ม


8-10 สิงหาคม 2555

      -  ลงมือปฏิบัติงาน
      -  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

       บ้านป้าตา

สมาชิกในกลุ่ม


11-13สิงหาคม2555

     -  เขียนรายงานโครงงานจัดทำรูปเล่ม
         และสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม

ห้องเรียน

สมาชิกในกลุ่ม


14 สิงหาคม 2555

    -  นำเสนอข้อมูลการทำขนมกาละแมและรายงานผลการปฏิบัติงาน

ห้องเรียน

สมาชิกในกลุ่ม



เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำขนมกาละแม
1.แป้งข้าวเหนียว
2.น้ำตาลทราย
3.น้ำกะทิ
4.ตอก
5.เชือก
6.กะทะ
7.ไม้พายขนม
8.กะละมัง
9.ตะแกรง

วิธีการศึกษา
            1.  ศึกษาข้อมูลจากป้าตา เจ้าของสูตรขนมกาละแม แบบดั้งเดิม
            2.  ศึกษาจากเอกสารอ้างอิง  และคำบอกเล่าของผู้รู้
            3.  ประเด็นการศึกษา
                        -  ประวัติความเป็นมาของขนมกาละแม
                        -  วิธีการผลิตและจัดจำหน่ายขนมกาละแม
                        -  การรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของขนมกาละแม
ผลการศึกษา
                        -  ได้รู้ประวัติความเป็นมาของขนมกาละแม
                        -  ได้รู้วิธีการผลิตและจัดจำหน่ายขนมกาละแม
                        -  ได้รู้การรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของขนมกาละแม

บทที่ 4

ผลการศึกษา
-  ได้รู้ประวัติความเป็นมาของขนมกาละแม
                        -  ได้รู้วิธีการผลิตและจัดจำหน่ายขนมกาละแม
                        -  ได้รู้การรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของขนมกาละแม





สถานที่ดำเนินงาน
บ้านป้าตา

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
     1.ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับขนมกาละแม
                                         2.ได้เผยแพร่ความรู้ให้กับบุคคลทั่วไป
                                         3.เป็นการส่งเสริมอาชีพ ในอนาคต
                                          4.นักเรียนเกิดทักษะในการฝึกประสบการณ์นอกสถานที่
                              5.นักเรียนได้ฝึกคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
                              6.เพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้วัสดุจากธรรมชาติ ให้เกิดประโยชน์


เอกสารอ้างอิง
         - www.Google.com
                                 - http://www.thaidesserthome.com
         - http://www.kontaiclub.com
                                 - http://www.otoptoday.com
                        จิรวัฒน์  เกื้ออำนวย. (2543). ตัวอย่างโครงงาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                        สันติชัย  พิศปรีชา. (2552). โครงงานวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : ปราณีการพิมพ์.
                        กำจร สุนพงศ์ศรี. (2551). ขนมไทย. กรุงเทพฯ : อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
                        ศุภชัย  สิงห์ราช. (2552). ภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ : บ้านขนม


ภาคผนวก










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น